การจัดงาน Event งานแต่งงาน หรืองานอื่น ๆ ที่มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก นอกจากจะต้องขออนุญาตเรื่องสถานที่และเตรียมการในเรื่องต่าง ๆ แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะต้องให้ความสำคัญและดำเนินการอย่างเข้มงวดก็คือ การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมถึงการตรวจโควิดก่อนเข้างาน เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ร่วมงาน และลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรการทั่วไปในการจัดงาน ในยุค New Normal
กระทรวงสาธารณสุขได้ออกแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนา 2019 (Covid-19) เอาไว้ดังต่อไปนี้
แนวทางปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม (Covid Free Environment)
- 1. ด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย
- ตรวจวัดอุณหภูมิผู้ร่วมงานทุกคน และมีการบันทึกและตรวจสอบความเสี่ยงของผู้ร่วมงาน
- ทำความสะอาดพื้นผิวจุดสัมผัสอย่างโต๊ะ เก้าอี้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
- มีจุดบริการล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ
- งดกิจกรรมที่มีการสัมผัส รวมกลุ่ม หรือตะโกน
- จัดให้มีการชำระเงินแบบไร้สัมผัสในรูปแบบ e-Payment
- จัดโซนจำหน่ายและรับประทานอาหารโดยเฉพาะ งดจัดอาหารแบบบริการตนเองหรือบุฟเฟต์ และจัดให้มีอุปกรณ์การรับประทานเฉพาะบุคคล
- แจ้งให้ผู้ร่วมงานทราบถึงมาตรการความปลอดภัยต่าง ๆ เพื่อการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง
- 2. ด้านการรักษาระยะห่าง
- กำหนดทางเข้าออกที่ชัดเจน และเพียงพอ
- เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร
- กำหนดจุดพักคอยระหว่างรอเข้างาน และเว้นระยะห่าง 1 เมตร
- เว้นระยะห่างระหว่างเวทีกับผู้ร่วมงานอย่างน้อย 5 เมตร
- จำกัดผู้เข้าร่วมงานต่อพื้นที่ อย่างน้อย 4 ตารางเมตรต่อ 1 คน (นับเฉพาะพื้นที่เปล่า)
- กำหนดโซนที่นั่ง และกระจายผู้ร่วมงานไม่ให้แออัดเพียงจุดเดียว
- 3. ด้านการระบายอากาศ
- ตรวจสอบระบบระบายอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐาน และทำความสะอาดทุก 3-6 เดือน
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้จัดงาน และพนักงาน (Covid Free Personnel)
เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ผู้จัดงานและพนักงานทุกคนจะต้องปฏิบัติตามมาตรการดังต่อไปนี้
- ต้องฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือมีประวัติติดเชื้อและรักษาหายแล้วในช่วง 1-3 เดือน
- คัดกรองความเสี่ยง และตรวจ ATK ทุก 7-14 วัน สำหรับพนักงานประจำสถานที่ และก่อนปฏิบัติงาน 72 ชั่วโมงสำหรับผู้จัดงาน
- สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน
- ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้ง
- จำกัดผู้ปฏิบัติงานเท่าที่จำเป็น งดทำกิจกรรมรวมกลุ่ม งดรับประทานอาหารร่วมกัน
- เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้เข้าร่วมงาน (Covid Free Customer)
ผู้ร่วมงานจะต้องปฏิบัติตามมาตรการดังต่อไปนี้
- ลงทะเบียนเข้า-ออกงาน
- ตรวจคัดกรองอุณหภูมิ พร้อมตรวจสอบพฤติกรรมเสี่ยง
- ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และ/หรือมีผลตรวจ ATK หรือมีหลักฐานการติดเชื้อและรักษาหายแล้วในช่วง 1-3 เดือน
- สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดระยะเวลาที่ร่วมชมงาน
- เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย 1 เมตร
- ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง

เพิ่มความปลอดภัยด้วยการตรวจ ATK ผู้ร่วมงาน
แม้ว่าฉีดวัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มแล้ว แต่เราก็ไม่ควรประมาท เพราะเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์และอาจจะทำให้ติดเชื้อได้แม้ว่าจะฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์แล้วก็ตาม ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องมีการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยด้วยการตรวจ ATK ให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ร่วมงาน โดยทีมแพทย์พยาบาลมืออาชีพ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส เพราะเราก็คงไม่อยากให้งานของเรากลายเป็นคลัสเตอร์ใหม่ของโรคโควิด-19
การตรวจหาเชื้อโควิดที่เราเรียกว่าโดยย่อว่า การตรวจ ATK หรือ Antigen Test Kit คือชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น ซึ่งหากว่าตรวจเจอเชื้อไวรัส ก็ควรจะตรวจ RT-PCR เพื่อเป็นการยืนยันผลอีกครั้ง โดยชุดตรวจ ATK สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
- แบบ Home Use เป็นแบบที่บุคคลทั่วไปสามารถใช้งานได้
- แบบ Professional Use เป็นแบบที่ให้เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ตรวจให้เท่านั้น
ขั้นตอนการตรวจ ATK
- เตรียมอุปกรณ์ทุกอย่างให้พร้อม วางไว้บนโต๊ะเตรียมเอาไว้ ล้างมือ และสวมถุงมือขณะทำการทดสอบ
- เปิดซองก้าน SWAP โดยห้ามให้มือหรือของเหลวโดนบริเวณที่เป็นสำลี
- สอดก้านเข้าไปในโพรงจมูกและหมุนก้านข้างละ 5-10 รอบ
- จุ่มด้านที่เป็นสำลีลงในหลอดน้ำยา หมุนก้าน และบีบน้ำจากก้าน SWAP
- หยดน้ำยาลงในช่องของชุดตรวจ 2-3 หยด รอผล 15 นาที
- อ่านผลตรวจ
- – หากมีขีดเดียวขึ้นที่ตัว C แสดงว่าผลเป็นลบ ไม่เจอเชื้อโควิด-19
- – หากขึ้น 2 ขีดตรงตัว C และ T แสดงว่าผลเป็นบวก ให้ไปตรวจหาเชื้อแบบ RT-PCR ซ้ำอีกครั้ง เพื่อยืนยันผล
- – หากว่าขึ้นขีดเดียวที่ตัว T หรือไม่ขึ้นแถบอะไรเลย ให้ตรวจซ้ำใหม่อีกครั้ง เพราะอาจจะเกิดข้อผิดพลาดระหว่างการตรวจ
ทำไมต้องใช้ทีมแพทย์พยาบาลในการตรวจ ATK
ปัจจุบันมีการจำหน่ายชุดตรวจแบบ ATK แบบ Home Use เพื่อให้ประชาชนได้นำไปตรวจคัดกรองด้วยตนเองเบื้องต้น แต่สำหรับการตรวจโควิดก่อนเข้างาน ไม่ว่าจะเป็นงานแต่งงาน งาน Event งานคอนเสิร์ต งานจัดแสดงสินค้า และงานอื่น ๆ ที่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองจำนวนมาก ควรดำเนินการโดยแพทย์และพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ โดยมีข้อดีดังต่อไปนี้
- สามารถใช้ชุดตรวจคัดกรองแบบ Professional Use ที่มีก้านตรวจที่ยาวกว่า สามารถเก็บตัวอย่างเชื้อได้ดีกว่า
- ตรวจและคัดกรองอย่างมีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานทางการแพทย์ ลดความคลาดเคลื่อนของผลตรวจ
- ลดอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการตรวจคัดกรองโดยผู้ที่ขาดประสบการณ์
- มีการดูแลและกำจัดขยะติดเชื้ออย่างถูกต้องและปลอดภัย